รายละเอียดของการค้นหา

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับชมรม

หน้าหลัก >ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับชมรม

ปี พ.ศ.2538

ในวโรกาสการเฉลิมพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษาในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยจึงขอ พระราชทานนามเพื่อเป็นสิริมงคล ได้รับพระราชทานชื่อว่า “อาคาร ๖๐ พรรษามหาราชินี” (อาคาร ๒) และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดําเนินมาทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘ เพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป

ปี พ.ศ.2535

มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารใหม่ ให้เป็นที่ทําการบริหารคณะใหม่ และเป็นอาคารเรียนรวม ในวงเงินประมาณ ๑๙๕ ล้านบาท กําหนดแล้วเสร็จใน เดือนกันยายน ๒๕๓๗ ต่อมา สํานักงานบริหารของคณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งหมดจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ อาคารใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๓๗ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.2533

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสนได้รับการ ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศโดยสมบูรณ์ ชื่อ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้รวมคณะทั้งสองเป็นคณะเดียวกัน คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การดําเนินงานในระยะแรกใช้ “ตึกสังคมศาสตร์” ซึ่งเป็นอาคาร เก่าตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นที่ตั้งสํานักงาน เลขานุการคณะและสํานักงานฝ่ายบริหารทั้งหมด รวมทั้ง สํานักงานของภาควิชาทางด้านสังคมศาสตร์เดิมทั้งหมด

ส่วนสํานักงานของภาควิชาทางด้านมนุษยศาสตร์ยังคงใช้ อาคารเดิม “ตึกมนุษยศาสตร์” ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของ วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จังหวัดชลบุรี สร้างเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ปัจจุบันขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และใช้ชื่อว่า อาคารอนุรักษ์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์

ปี พ.ศ.2517

วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและ สังคมศาสตร์ ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะวิชาแยกออกจากกันเป็น ๒ คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน

ปี พ.ศ.2498

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้พัฒนามาจากคณะ วิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จังหวัดชลบุรี นับว่าสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกใน ภูมิภาคของประเทศไทย สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวง ศึกษาธิการ ที่มีภารกิจผลิตบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (กศ.บ.) วิชาเอกสังคมวิทยาศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และศิลปศึกษา

ภาพที่ 6 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด อาคาร 60 พรรษามหาราชินี (อาคาร 2) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2538

ภาพที่ 5 ตึกคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ภาพที่ 4 ตึกคณะมนุษยศาสตร์

ภาพที่ 3 ตึกคณะมนุษยศาสตร์

ภาพที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินรินทร์วิโรฒ บางแสน

ภาพที่ 1 วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จังหวัดชลบุรี

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ดร.สุชาดา รัตนวาณิชย์พันธ์

พ.ศ.2562 – ปัจจุบัน

ผศ.ดร.บุณรอด บุญเกิด

ผศ.ดร.จรัล ฉกรรจ์แดง

รศ.สมชาย เดชะพรหมพันธุ์

รศ.ทัศนีย์ ทานตวณิช

รศ.ดร.เพ็ญแข วัจนสุนทร

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ยังเป็น ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ จนประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ศาสตราจารย์ สุชาติ เถาทอง ได้ออกแบบและปั้น ประติมากรรมลอยตัวรูปเด็กไทยไว้ผมจุก ถือกระดานชนวนแบบไทย ยืนอยู่ใต้ต้นไม้ มีความหมาย “การศึกษาสร้างเด็กไทยให้เจริญงอกงาม ทางความคิดและสติปัญญา ” และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ได้เรียกชื่อ ประติมากรรมดังกล่าวว่า “จิ้งหน่อง”เดิม “จิ้งหน่อง” ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหน้าตึกมนุษยศาสตร์ หลังเก่า (ปัจจุบัน คือ อาคารอนุรักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ ) แต่ ณ ขณะนี้ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตึกคณะศิลปกรรมศาสตร์

ที่มาหนังสือ"เขียนถึงศิปกรรมบูรพา"ศ.สุชาติ เถาทอง